“ปลาโรนิน” หรือ ปลากระเบนท้องน้ำ ปลาโรนัน” (Ronan, Guitarfish) เป็นปลากระดูกอ่อนในวงศ์ Rhinobatidae รูปร่างคล้ายปลาฉลามผสมปลากระเบน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดโตเต็มที่ยาว ๓ เมตร หนักกว่า ๒๐๐ กิโลกรัม ออกลูกเป็นตัว มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ในน่านน้ำไทยพบอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่ โรนันลายจุด (Rhynchobatus djiddensis) และโรนันหัวเสียม (Rhinobatos productus)ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2561 และตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.2561 ผู้ใดมีเครื่องประดับที่ทำจากกระดูกปลาโรนินแล้วไม่ไปแจ้งครอบครองจะถูกจับปรับ 40,000 บาท – PPTV ช่อง 36 สรุป
ลักษณะที่สังเกตได้ของปลาโรนิน โรนัน
ปลาโรนิน จะมีลักษณะส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนาม ตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน พื้นผิวลำตัวด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจางๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาตัวโต ขนาดโตเต็มที่มีความยาวได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 135 กิโลกรัม ชอบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน ในท้องทะเลไทย ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2558 เฟซบุ๊ก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้โพสต์ภาพปลาตัวหนึ่ง พร้อมข้อความว่า “พบปลาโรนิน หายาก ที่ระยอง” ยาว 1.50 เมตร น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม พบโดยชาวบ้านบริเวณปากน้ำประแส จ.ระยอง แต่อีกครั้งที่น่าเศร้าใจคือ พบบนแผงขายปลาทะเลในตลาด จ.ภูเก็ต ด้วยราคาตัว 8,000 บาท และครั้งหนึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงความหายากและใกล้สูญพันธ์ของปลาชนิดนี้ ว่า
“โรนินเป็นปลาหายากมาก ทั้งชีวิตผมเคยเห็นใต้น้ำเพียงหนเดียว ถามนักดำน้ำด้วยกัน เท่าที่รู้มีคนเคยเห็นเพียง 3-4 ราย และเป็นสมัยก่อนทั้งนั้น เพราะปัจจุบัน ปริมาณโรนินน้อยลงจนแทบไม่มีข้อมูล”
แสดงให้เห็นว่า ปลาโรนินกำลังจะหายไปจากท้องทะเลจนแทบไม่เหลือไม่ใช่แค่ที่ทะเลไทย แต่แหล่งที่อยู่อย่าง ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่นตอนใต้, ปาปัวนิวกินี ก็หายากมากในปัจจุบัน ดังนั้น การออกประกาศให้ผู้ที่มีเครื่องประดับจากมาโรนินมาแจ้งครอบครองกับกรมประมง ก็น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการหยุดซื้อขาย หยุดล่า ปลาชนิดนี้ที่แทบจะไม่เหลืออีกแล้ว
โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก Chalit Sa Nga Ngam เจ้าหน้าที่กรมประมง ได้โพสต์ข้อมูล ของการเข้าแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ว่า “ให้นำรูปภาพ หรือของจริง ไปแจ้งครอบครองที่สำนักงานประมงจังหวัดแหวนหัวกระเบนท้องน้ำ ที่มีขายทั่วไป เป็นส่วนหนามบนหัวปลาโรนิน ซึ่งปัจจุบันถูกประกาศ เป็นสัตว์คุ้มครองแล้ว”“หลัง 30 พ.ย.2561 จะถูกจับปรับ 40,000 บาท หากไม่มีหนังสือการครอบครอง”
โดยกรมประมงจะเปิดรับแจ้งครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 และให้วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เป็นวันสุดท้ายของการรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว
- 1.บัตรประจำตัวประชาขนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- 2.ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้าน
- 3.ซาก/ผลิตภัณฑ์หรือภาพถ่ายซากหรือผลิตภัณฑ์สัตว์สงวนที่ประสงค์จดแจ้ง
ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งได้ที่ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครสำหรับในท้องที่จังหวัดอื่นๆ สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดในท้องที่นั้นๆ
กระเบนท้องน้ำ(Rhina ancylostoma) “ปลาแห่งความโชคดี”
กระเบนท้องน้ำ(Rhina ancylostoma) หรือ ปลาโรนินมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนามตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน ซึ่งหนามบนตัวปลานี้คนทางภาคใต้ของไทยนิยมนำมาทำเครื่องประดับ ทำหัวแหวน กำไร โดยเชื่อว่าเป็นของขลังสามารถป้องกันคุณไสย ป้องกันอันตรายจากภูติพรายที่อาศัยอยู่ในน้ำและอันตรายจากสัตว์น้ำได้ โดยทั่วไปพื้นผิวลำตัวของปลาโรนินด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่
ปลาโรนินมีส่วนหัวคล้ายกับกระเบนแต่ส่วนหางคล้ายฉลาม และยังมีลักษณะคล้ายกับปลาอีกตัวคือปลาโรนัน แต่สามารถแยกได้จากลักษณะของปลายส่วนหัวคือ ปลาโรนินจะมีส่วนกลมมนส่วนปลาโรนันจะมีส่วนหัวเรียวแหลม หรือจำง่ายๆว่า นินสั้น นันยาว


ปลาโรนินโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 3 เมตร หนังสูงสุดประมาณ 135 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน อาหารของปลาโรนินได้แก่ ปลาขนาดเล็กที่อาศัยตามพื้นทะเล กุ้งปูขนาดเล็ก หอยสองฝาและปลาหมึก ปลาโรนินออกลูกเป็นตัว (viviparous)
ความเชื่อเรื่องแหวนหัวกระเบน


จากความเชื่อเรื่องโชคลางที่อยู่คู่กับสังคมไทย ทำให้เราได้เห็นการนำชิ้นส่วนจากสัตว์มาทำเครื่องประดับ มาพกเป็นเครื่องรางของขลัง หนึ่งในนั้นคือ กระดูกปลาโรนิน สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที ด้วยความเชื่อที่ว่าเอาไว้ป้องกันภัยทางน้ำ หรือช่วยให้แคล้วคลาดจากพายุทะเล โดยจะนิยมนำมาทำเป็นหัวแหวน ข้อมือ เป็นต้น ที่สำคัญคือราคาไม่แพง
เพจฅนรักษ์เงิน K.Silverstore ชาวใต้เชื่อกันว่าคดกระเบน หรือ หัวกระเบนท้องน้ำนี้มีสรรพคุณสามารถป้องกันคุณไสย ป้องกันลมเพลมพัดได้ มีพุทธคุณสูง(ถ้านำไปปลุกเสก) สามารถป้องกันภูตพรายที่สิงอยู่ตามท้องน้ำได้ สามารถป้องกันภัยจากสัตว์น้ำได้ และที่สำคัญคือสามารถเสริมดวงชะตาให้มีพลังอำนาจมาก อีกทั้งยังช่วงเพิ่มเสน่ห์ให้แก่ผู้สวมใส่ได้ดีอีกด้วย
ชาวจีนเรียกว่า “ปลาไข่มุกหรือฮั่งฮื้อ” แปลว่า ปลาแห่งความโชคดี ทำให้เชื่อกันว่า ชิ้นส่วนของปลาในกลุ่มนี้ “เป็นของช่วยเสริมโชคลาง” ทำให้เงินทองไหลมาเทมา ดังสุภาษิตจีนว่า “เนี่ยน เนี่ยน หยิ่ว อี๋” แปลว่า ใช้แล้วเงินเหลือ จะนำความโชคดี และสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ที่ใช้ ครอบครอง เชื่อกันว่าเมื่อนำมาทำเป็นหัวแหวน กำไล หรือจี้ ปลายแหลมของหัวกระเบนท้องน้ำจะสามารถงอกยาวขึ้นมาได้อีกเรื่อยๆ
กรมประมงเตือนผู้ครอบครอง เตือนครอบครองแหวน ไม่แจ้ง ปรับ 40,000
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมประมง เตือนผู้ครอบครองแหวนหัวกระเบนท้องน้ำ ให้แจ้งครอบครองตามกฎหมายภายในวันที่ 29 พ.ย.61 ไม่แจ้งมีโทษปรับ 40,000 บาท
วันที่ 19 ก.ย. 2561 ผู้ใช้โพสต์เฟชบุ๊ก Chalit Sa Nga Ngam โพสต์ภาพและข้อความฝากประชาสัมพันธ์เรื่องการรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครองให้นำรูปภาพหรือของจริงไปแจ้งครอบครองที่สำนักงานประมงจังหวัด โดยเฉพาะผู้ครอบครองแหวนหัวกระเบนท้องน้ำที่มีขายทั่วไป เป็นส่วนหนามบนหัวปลาโรนิน ซึ่งปัจจุบันถูกประกาศเป็นสัตว์คุ้มครองแล้ว หากไม่แจ้งครอบครองจะมีโทษจับปรับ 40,000 บาท
ทั้งนี้ กรมประมงได้เปิดรับแจ้งครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 29 พ.ย.2561 โดยให้นำเอกสารหลักฐาน ประกอบด้วย บัตรประจำตัวประชาขนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้าน ซากผลิตภัณฑ์หรือภาพถ่ายซากหรือผลิตภัณฑ์สัตว์สงวนที่ประสงค์จดแจ้ง
สามารถดาวโหลดแบบฟอร์มได้ที่ www4.fisheries.go.th ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งได้ที่ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรมประมง สำหรับในท้องที่จังหวัดอื่นๆ สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดในท้องที่นั้นๆ